ปรับโครงสร้างหนี้

สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่เราจะตัดสินใจเข้ารับการ "การปรับโครงสร้างหนี้" คือการประเมินสถานการณ์ รายได้-รายจ่าย ที่ลดลง และมีแนวโน้มที่จะรายได้ลดลง หรือขาดรายได้เป็นเวลานาน โอกาสการเกิดหนี้สะสม ติดแบล็กลิสต์ เครดิตบูโร หรือโอกาสการต่อยอดทางธุรกิจ

"การขอปรับโครงสร้างหนี้ จึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้เราไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินของเราไว้ได้

"

โครงการผ่อนหนัก...ให้เป็นเบา

เมื่อรายรับที่ได้ไม่พอจ่ายหนี้ หลายคนอาจใช้วิธี ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย แต่ใครจะรู้...ถึงแม้จะเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น หนี้บัตรเครดิต) การ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ก็อาจจะทำให้เจ้าหนี้ฟ้องยึดบ้าน หรือยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของเรา รวมถึงเสียประวัติเครดิต ไม่มีใครปล่อยกู้ และเสียหายถึงหน้าที่การงานของเราได้

การขอปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินของเราไว้ได้ แต่เราต้องรู้ก่อนว่าการปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบคืออะไร เหมาะกับสถานการณ์แบบไหน และผลที่ตามมาเป็นยังไง แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะปรับหรือไม่ หรือเลือกแบบไหน

การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้อาจทำให้ลูกหนี้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาจ่ายหนี้ หรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ย

ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละวิธีมีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงขอให้สอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วยก่อนตัดสินใจ


การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบเหมาะกับสถานการณ์ทางการเงินที่แตกต่างกัน ถ้าอยากรู้ว่าเราเหมาะกับการปรับโครงสร้างหนี้แบบไหน ต้องถามตัวเองก่อนว่า...เรายังจ่ายหนี้ไหวแค่ไหนโดยมี 2 เรื่องที่ต้องคำนึงถึง คือ จำนวนเงินและระยะเวลา


1. ยังจ่ายไหวแต่อยากลดภาระดอกเบี้ย


ถ้ารายรับของเราไม่เปลี่ยนแปลงหรือลดลงเล็กน้อย แบบที่ยังจ่ายหนี้ไหวแต่อยากประหยัดรายจ่

ายที่เป็นดอกเบี้ยลงบ้างเพื่อไปใช้จ่ายเรื่องที่จำเป็น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้


1.1) เปลี่ยนประเภทหนี้ จากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง เช่น หนี้บัตรเครดิต หากชำระไม่เต็มจำนวนและไม่ตรงเวลาจะถูกคิดดอกเบี้ย 16% ต่อปี อาจขอเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่มีกำหนดเวลาจ่ายคืนที่ชัดเจนขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง



ข้อควรคิด การเปลี่ยนประเภทหนี้แบบนี้ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถจ่ายค่างวดคืนตามที่กำหนดได้ เช่น จากเดิมที่เราจ่ายบัตรเครดิตแค่ขั้นต่ำ (5 10%) การเปลี่ยนเป็นสินเชื่อแบบ term loan อาจทำให้เราต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากกว่าหรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เราเคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ที่เราค้างจ่ายและระยะเวลาของสินเชื่อแบบ term loan



1.2) รีไฟแนนซ์ (refinance) เป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้ ก็คือปิดหนี้จากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ส่วนใหญ่มักจะรีไฟแนนซ์กับหนี้บ้าน แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถรีไฟแนนซ์กับหนี้อื่นได้ด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด



ข้อควรคิด การรีไฟแนนซ์อาจฟังแล้วดูดี แต่เราต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมที่เราจ่ายคืนหนี้ทั้งจำนวนก่อนครบกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไหม


2. จ่ายไหวแค่บางส่วน


ถ้ารายรับเราลดลงจนส่งผลให้จ่ายหนี้ได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บหรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา หรือเกิดเหตุอื่น ๆ ที่กระทบรายรับโดยรวมของครอบครัว เช่น มีคนในครอบครัวตกงาน จากที่เคยช่วยกันหาเงินเข้าบ้าน 2 แรงจึงเหลือเราคนเดียว ทำให้ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากขึ้น เราอาจขอปรับโครงสร้างหนี้ที่เหมาะกับรายรับที่ลดลงในแต่ละแบบ ดังนี้



2.1) ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ที่จะต้องจ่ายลดลงบางส่วน แต่ส่วนมากสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เพื่อให้ลูกหนี้มีเวลาปรับตัวในช่วงที่รายได้ลดกะทันหัน เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน




ข้อควรคิด หากได้รับการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เหมาะกับผู้ที่มีรายได้ลดลงในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หากรายรับลดเป็นระยะเวลานานควรพิจารณาทางเลือกอื่น


2.2) พักชำระเงินต้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การจ่ายคืนเงินกู้ในแต่ละงวดจะประกอบไปด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย ดังนั้น "การพักชำระเงินต้น" ก็หมายความว่า เราไม่ต้องจ่ายเงินต้นแต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ย (จำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับยอดหนี้ทั้งหมด ประเภทหนี้ ระยะเวลากู้ยืม และอัตราดอกเบี้ย) ซึ่งส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักให้พักชำระเงินต้นประมาณ 3 6 เดือน วิธีนี้จึงเหมาะกับคนที่รายรับลดลงเพียงไม่นานและจะกลับมาชำระหนี้ตามเดิมได้




ข้อควรคิด การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้น นอกจากนี้ ยังอาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้น เราจะต้องตกลงกับสถาบันการเงินให้ดีว่า หลังพักชำระเงินต้นแล้วจะต้องจ่ายคืนแบบไหน ที่สำคัญคือเราจ่ายไหวไหม เช่น สถาบันการเงินอาจให้ขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้าย (รายละเอียดตามภาพ) และอาจต้องทำสัญญาใหม่หรือทำเอกสารบันทึกแนบท้ายสัญญาเดิมแล้วแต่กรณี

อยากลดภาระส่งค่างวด

คนที่เสี่ยงติดแบล็กลิสต์

ค่างวดลดลง ผ่อนสบายขึ้น

เครดิตกลับมาดี

ยังมีรถใช้ต่อ

ลูกค้าสมใจ ติดต่อ

099-6806999

พอเรารู้แล้วว่าแบบไหนที่เราจ่ายไหว ให้รีบทำหนังสือขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นลายลักษณ์อักษรไปถึงสถาบันการเงิน ไม่ควรรอจนอาการหนักหรือจ่ายไม่ไหว เพราะการค้างชำระจะทำให้ทางเลือกในการช่วยเหลือจากสถาบันการเงินน้อยลงไปอีก


เมื่อทำหนังสือขอปรับโครงสร้างหนี้ส่งไปแล้ว สถาบันการเงินก็อาจพิจารณาตามแบบที่เราขอหรืออาจเสนอเงื่อนไขอื่นมาให้ หากเราจ่ายไม่ไหวตามเงื่อนไขของสถาบันการเงิน ให้เจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง ไม่ควรลงนามในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ที่เราจ่ายไม่ไหว เพราะอาจต้องเจอปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีกและการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น


ในกรณีที่เจรจากับสถาบันการเงินแล้วยังไม่ได้ข้อสรุปที่เราทำได้ สามารถติดต่อ "ทางด่วนแก้หนี้" ซึ่งเป็นช่องทางเสริมของธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีขึ้นสำหรับประชาชนในการแจ้งขอความช่วยเหลือในการผ่อนชำระหนี้ หรือขอคำแนะนำได้ที่โทร. 1213 ในวันทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 16.30 น.


หมายเหตุ: การปรับโครงสร้างหนี้อาจส่งผลต่อการขอกู้ใหม่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะการปรับโครงสร้างหนี้สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ที่น้อยลง ดังนั้น เมื่อปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ควรชำระให้ได้ตามกำหนดเพื่อไม่ให้เกิดประวัติค้างชำระในข้อมูลเครดิตบูโรและเป็นการสร้างประวัติที่แสดงถึงวินัยทางการเงินที่ดีอีกด้วย

*ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy